วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แฟ้มภาพ

          ในอดีตชาวจังหวัดชุมพรจะนิยมปลูกกล้วยเล็บมือนางเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนต่อมาภายหลังเกิดเหตุพายุเกย์ในปี พ.ศ. 2532 จึงนิยมนำมาปลูกมากขึ้นด้วยให้ผลผลิตที่รวดเร็ว เป็นกล้วยที่ปลูกเชิงเดี่ยวไม่ได้ ต้องปลูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแซม 

ชาวชุมพรจึงเรียกกล้วยนี้ว่ากล้วยขี้เหงา  ความเป็นจริงคือเป็นกล้วยที่ไม่ชอบแดดจัด ต้องอาศัยร่มเงาจากไม้ชนิดอื่น จึงจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ผลมีรสชาติหอม หวาน ปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่นกล้วยอบ อบเคลือบคาราเมล  อบกรอบ อบกวน เคลือบช็อกโกแลต เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น