วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านยอดนิยมสำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง เพราะความสวยสง่าของมัน ทำให้เหล่าบรรดาคนรักแมวยอมทุ่มเทเวลาเพื่อดูแลเจ้าเหมียวดั่งเจ้านาย แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าการเลี้ยงแมว นอกจากจะต้องดูแลเรื่องอาหารการกินแล้ว เรายังต้องใส่ใจเรื่องของความสะอาดภายในบ้านให้ดีด้วย ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่จะตามมาคือ การทำความสะอาดขนแมวที่กระจัดกระจายอยู่เต็มบ้านไปหมด ไม่ว่าจะเป็นบนพื้น บนโซฟาหรือแม้กระทั่งบนเตียงนอนก็ตาม ซึ่งวันนี้เราจะมีวิธีการทำความสะอาดขนแมวแบบง่ายๆมาฝากกัน เพื่อสุขอนามัยที่ดีของทุกคนในบ้าน

advertisements

วิธีทำความสะอาดขนแมว
เครื่องดูดฝุ่น อุปกรณ์ทำความสะอาดยอดฮิต ที่เพียงเสียบปลั๊กและเปิดเครื่อง ก็จะสามารถดูดสิ่งสกปรกตรงหน้าเราได้อย่างง่ายๆแล้ว โดยเฉพาะหากเครื่องดูดฝุ่นที่บ้านใครแรงๆแล้วล่ะก็ จะสามารถดูดขนแมวตามพื้น และบนเตียงนอนได้อย่างง่ายๆเลยล่ะ

แปรงปัดขน สำหรับบนพื้นบ้านนั้น อาจจะทำความสะอาดได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับบนเตียงนอน โซฟา หรือเสื้อผ้านั้น จะทำความสะอาดได้ยากสักหน่อย แต่การใช้แปรงปัดขนช่วยในการทำความสะอาด จะช่วยให้ขนแมวที่ติดอยู่บนเตียงนอน โซฟา หรือเสื้อผ้า หลุดออกได้อย่างง่ายดาย

ลูกกลิ้ง หรืออุปกรณ์ที่เราใช้กำจัดขุยบนกางเกงสีดำ สามารถนำมากลิ้งบนเตียงนอน และโซฟา เพื่อให้ขนแมวติดกับกาวของลูกกลิ้งออกมา วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยม เพราะสามารถทำความสะอาดขนแมวได้อย่างรวดเร็วและง่าย

ถุงมือยาง เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำความสะอาดที่มีอยู่ในทุกบ้าน สามารถนำมาใช้ทำความสะอาดขนแมวบนเตียงนอน และบนโซฟาได้เป็นอย่างดี เพราะคุณสมบัติของถุงมือยางจะมีความเหนียวอยู่ ช่วยให้การโกยขนแมวทำได้ดีขึ้นกว่าการโกยขนแมวด้วยมือเปล่า

เห็นแล้วใช่ไหมว่าปัญหาขนแมวนั้นสามารถแก้ได้ด้วยวิธีทำความสะอาดขนแมวที่แนะนำไว้ข้างต้น นอกจากจะทำได้ง่ายและรวดเร็วแล้วยังล้วนแต่เป็นวิธีที่ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย เพียงเท่านี้บรรดาเหล่าคนรักแมวก็สามารถเลี้ยงเจ้านายตัวดีไว้ในบ้านอย่างมีความสุข โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาสุขอนามัยของคนในบ้านอีกต่อไปแล้ว

ความดันโลหิตสูง

สำหรับโรคความดันโลหิตต่ำนั้นโดยทั่วไปผู้คนส่วนใหญ่มักมองข้าม เพราะจะให้ความสำคัญกับโรคความดันโลหิตสูงกันมากกว่า เนื่องจากคิดว่าอันตรายกว่าโรคความดันโลหิตต่ำ แถมคนส่วนใหญ่ก็มักเป็นโรความดันโลหิตสูง ทำให้หลายๆคนพุ่งเป้าเน้นไปที่โรคความดันโลหิตสูงกัน แต่สำหรับโรคความดันโลหิตต่ำนั้นก็เป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงและอันตรายไม่แพ้ความดันโลหิตสูงเลยทีเดียว

advertisements

โรคความดันโลหิตต่ำคืออะไร
โรคความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือ ภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 – 50 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งพบมากในผู้หญิงที่ร่างกายอ่อนแอหรือผู้สูงอายุที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน และหากใครที่มีความดันโลหิตต่ำมากๆ จะส่งผลให้เลือดในร่างกายเกิดการไหลเวียนช้าลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายทำให้บริเวณหลอดเลือดเกิดการอุดตันขึ้น

โรคความดันโลหิตต่ำ โรคที่มักถูกมองข้าม

สำหรับโรคความดันโลหิตต่ำนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเรื้อรังอาจเป็นมาแต่กำเนิดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดจากพันธุกรรม รวมทั้งการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ตลอดจนการใช้ยาหรือเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ส่วนความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียบพลันจะมีความดันลดลงอย่างรวดเร็วกว่าปกติ มักหน้ามืดหรือช็อกจนหมดสติ

สาเหตุของโรคความดันโลหิตต่ำ
สำหรับความดันโลหิตต่ำนี้มักมีสาเหตุจากหลายๆ ปัจจัย โดยความดันต่ำเกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงของปอด หรือลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติเพราะอัตราการส่งเลือดออกจากหัวใจลดลง รวมทั้งหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ ตลอดจนภาวะขาดน้ำทำให้ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง หรือมีการขยายตัวของหลอดเลือดมากเกินปกติเนื่องจากโรคภูมิแพ้ ช็อกจากภาวะติดเชื้อ การใช้ยาบางชนิด และในหญิงตั้งครรภ์ หรือการอยู่ท่ามกลางแสงแดดจัดๆ เป็นต้น

ร่างกายขาดน้ำ หนึ่งในสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำ

อาการของโรคความดันโลหิตต่ำ
โดยทั่วไปผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำก็มักไม่มีอาการเช่นเดียวกับโรคความดันโลหิตสูง ส่วนในผู้ที่มีอาการก็เช่น จะรู้สึกเวียนศีรษะง่าย หรือหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าหนึ่งไปเป็นอีกท่าหนึ่ง และมักจะรู้สึกอ่อนเพลียง่ายแม้ว่าได้นอนเต็มอิ่มแล้วก็ตาม หรืออาจหูอื้อ ตาลาย ปวดศีรษะ หลัง หรือบั้นเอว สมองล้า ขี้ลืม ไม่มีสมาธิ และมือเท้าเย็น หรือชักหมดสติ และในบางคนที่มีอาการของโรคความดันโลหิตต่ำมากก็อาจถึงขึ้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไปเลย

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำมักมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศรีษะ หูอื้อ ตาลาย

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำ
เมื่อไปพบแพทย์แล้วแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตต่ำโดยการวัดความดันโลหิต ซักประวัติและอาการ รวมทั้งมองถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งอายุ โรคเรื้อรัง การเคยได้รับยาบางชนิด เช่น เบาหวาน หรือยาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น และการขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนรุนแรง หรือท้องเสีย จากนั้นก็อาจเจาะเลือดดูค่าของระดับน้ำตาลในเลือดในกรณีเป็นเบาหวาน หรือตรวจโดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจกรณีสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เป็นหลัก

การรักษาโรคความดันโลหิตต่ำ
สำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตต่ำนั้น แพทย์จะช่วยเพิ่มระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยรักษาตามอาการของสาเหตุที่เกิดโรคความดันโลหิตต่ำ อย่างภาวะขาดน้ำ แพทย์ก็จะรักษาโดยการให้น้ำและเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ หรือหากอยู่ในภาวะขาดเลือดเสียเลือดมากก็จะให้เลือดทดแทนที่เสียไป และเมื่อหลอดเลือดเกิดอาการขยายตัวผิดปกติ แพทย์ก็จะทำการรักษาโรคความดันโลหิตต่ำโดยการให้ยาเพิ่มความดันหรือเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด ตลอดจนเป็นเบาหวานแพทย์ก็จะปรับยาเบาหวานให้แก่ผู้ป่วยโรคความดันต่ำนี้ เป็นต้น

การรักษาโรคความดันโลหิตต่ำต้องรักษาที่สาเหตุ อาจจะต้องมีการใช้ยาร่วมด้วย

การดูแลตนเองหลังการรักษาโรคความดันโลหิตต่ำ
หลังพบแพทย์ทำการรักษาเรียบร้อยแล้วควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาต่างๆ อย่างถูกต้อง ดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว รู้จักเคลื่อนไหวร่างกายให้สม่ำเสมอบริหารร่างกายให้เป็นนะคะ โดยเฉพาะเวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถไม่ว่าจะเป็นท่าใดก็แล้วแต่ให้ค่อยๆ ทำหรือเปลี่ยนอย่างช้าๆ ไม่ควรรีบเปลี่ยนอิริยาบถเพราะจะทำให้หน้ามืดเป็นลมล้มลงได้ง่ายๆ รวมทั้งไม่ยืนหรือนั่งไขว้ห้างเป็นเวลานาน ตลอดจนรับประทานอาหารในปริมาณพอเหมาะแก่ร่างกาย และหากอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดเจ็บแน่นหน้าอกขึ้นมาให้รีบกลับไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอีกครั้งโดยเร็วนะคะ

การป้องกันโรคความดันโลหิตต่ำ
- ระมัดระวังในการใช้ยา หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันอย่างน้อยวันละประมาณ 6 – 8 แก้ว เป็นประจำสม่ำเสมอ
- ทำการรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโรคความดันโลหิตต่ำ
- เปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถต่างๆ ให้ช้าลง
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมแก่ร่างกายตนเอง
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู

การดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตต่ำได้

ดังนั้น การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะการไม่มีโรค…เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ ต่อให้มีเงินทองมากขนาดไหนหากร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยบ่อยก็คงไม่มีความสุข ฉะนั้นเราต้องรู้เท่าทันโรคต่างๆ ที่เกิดกับเราให้ดี หมั่นดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงไม่ให้โรคต่างๆเข้ามากล้ำกราย

เห็ด

หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพแน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย

advertisements

เห็ด (Mushroom) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีมาช้านานและยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดสดหรือเห็ดตากแห้ง รวมทั้งชนิดบรรจุกระป๋องด้วย และเห็ดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์เลยทีเดียว แต่หลักๆแล้วจะมีการจำแนกกลุ่มของเห็ดออกเป็น 3 กลุ่มคือ – เห็ดชนิดที่รับประทานได้นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพกัน อาทิ เห็ดนางฟ้า, เห็ดฟาง, เห็ดหูหนู, เห็ดนางรม, เห็ดโคน, เห็ดเข็มทอง ฯลฯ – เห็ดที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีสรรพคุณทางยา อาทิ เห็ดหอม หรือเห็ดหลินจือ ฯลฯ – เห็ดพิษที่ไม่สามารถรับประทานได้และอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาทิ เห็ดระโงกหิน, เห็ดจิก, เห็ดจวักงู, เห็ดสน, เห็ดหมึก, เห็ดหิ่งห้อย ฯลฯ

เห็ด สุดยอดอาหารเปี่ยมประโยชน์

เห็ดคืออะไร? สำหรับนักจุลชีววิทยานั้นจะถือว่าเห็ดนั้นจัดเป็นเชื้อราชั้นสูงชนิดหนึ่ง แต่สำหรับนักเกษตรแล้วกลับมองว่าเห็ดเป็นพืชชั้นต่ำ เพราะไม่สามารถสร้างอาหารขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งเห็ดนั้นจะมีการเพาะพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มใยราจนกระทั่งเจริญเติบโตขึ้นเป็นดอกเห็ด ซึ่งมีสีสันและรูปร่างของดอกเห็ดตามแต่ละชนิดของสายพันธุ์เห็ดต่างๆ ซึ่งเห็ดนั้นจะมีส่วนประกอบหรือโครงสร้างดังนี้ – หมวกเห็ด คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของเห็ด ซึ่งมีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกไป – ก้านเห็ด คือ บริเวณที่ติดเป็นเนื้อเดียวกับดอกเห็ด ซึ่งคอยรองรับดอกเห็ดให้ชูขึ้นด้านบน – ครีบเห็ด คือ บริเวณที่ทำให้เกิดสปอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ อยู่ตรงใต้หมวกเห็ด – วงแหวน คือ บริเวณที่เกิดจากเนื้อเยื่อบางๆ ที่ยึดระหว่างก้านดอกกับขอบหมวกเห็ดขาดออกจากหมวกเห็ดเมื่อบาน – เยื่อหุ้มดอกเห็ดหรือเปลือก คือ บริเวณส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดที่ทำหน้าที่หุ้มหมวกเห็ดและก้านไว้ เมื่อยังเป็นดอกอ่อนอยู่ และจะเริ่มปริหรือแตกออกเมื่อดอกเห็ดเริ่มขยายหรือบานออก แต่ยังคงมีเยื่อหุ้มอยู่บริเวณโคนของเห็ด เพราะเป็นส่วนที่ไม่ได้มีการขยายตัวออก – เนื้อเห็ด คือ ส่วนที่อยู่ภายในของหมวกเห็ด ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย เปราะ เหนียว และนุ่ม

เห็ดจวักงู เห็ดมีพิษรุนแรง ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด

สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ด เห็ดนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ด หรือคุณค่าทางอาหารจึงมีแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ของเห็ด แต่โดยรวมแล้วเห็ดมีประโยชน์มากมาย เป็นได้ทั้งอาหารและสมุนไพรรักษาโรค บำรุงร่างกาย ดังนี้ – ช่วยต่อต้าน ป้องกัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกายของเราที่จะก่อเกิดโรคมะเร็งต่างๆขึ้นได้ – ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือดได้ดี – ช่วยให้การทำงานของระบบตับ, ไต และหัวใจ ทำงานได้เป็นปกติอย่างมีประสิทธิภาพ – มีสารอนุมูลอิสระที่ช่วยให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเจ็บป่วยง่าย – ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและปรับสภาพความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ – มีไฟเบอร์และกากใยอาหารสูง ทำให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้ดี และไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร, โรคกระเพาะ หรือมะเร็งลำไส้ – ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจาง – ช่วยสมานแผล และลดอาการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ – ช่วยให้ระบบสมองและประสาททำงานได้ดี – ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกายดี – ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน และโรคภูมิแพ้ – ช่วยให้ร่างกายไม่อิดโรย มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า – ช่วยแก้อาการไอเรื้อรังได้ – ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใส ไม่หมองคล้ำ และดูมีน้ำมีนวล – ช่วยขับสารพิษหรือสารเคมีต่างๆ ในตับออกจากร่างกาย – เป็นยาอายุวัฒนะ

เห็ด แหล่งไฟเบอร์ชั้นดี ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี

คุณค่าทางอาหารของเห็ด สำหรับเห็ดนั้นเรียกได้ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากๆ และไม่มีไขมัน หรือคอเลสเตอรอล เรียกว่าเป็นได้ทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก อาทิ – มีวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ – ซีลีเนียม เป็นตัวช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และยับยั้งการเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็ง เรียกว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ใกล้เคียงกับวิตามินอีเลยทีเดียว – โพแทสเซียม เป็นตัวที่ช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล เพราะจะเข้าไปทำให้กระบวนการในระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน และควบคุมในเรื่องของจังหวะการเต้นของหัวใจด้วย – ไนอะซิน ก็จะเป็นตัวควบคุมการทำงานในระบบการย่อยอาหารในกระเพาะ รวมทั้งระบบประสาทต่างๆ ได้ดีด้วย – ไรโบฟลาวิน สารอาหารนี้ก็จะเป็นตัวช่วยในเรื่องของสายตาการมองเห็ด และบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ไม่อิดโรย – วิตามินบีรวม ซึ่งก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น และผ่อนคลายความตึงเครียดให้แก่ร่างกาย

เห็ด สามารถนำมาประกอบอาหารแสนอร่อยได้นับพันเมนู

ซึ่งนอกจากเห็ดโดยรวมแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ในตัวเองอย่างมากมายแล้ว การนำเห็ด 3 อย่างขึ้นไป มาต้มรับประทานพร้อมกัน ก็จะยิ่งทำให้ได้ประโยชน์มากกว่าการรับประทานเห็ดเพียงชนิดเดียว เนื่องจากเมื่อนำเห็ด 3 อย่างมารวมกันจะทำให้เกิดค่าของกรดอะมิโนซึ่งอยู่ในระดับที่สามารถต้านทานหรือต่อสู้กับโรคมะเร็งร้ายได้ รวมทั้งขับสารพิษและสารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกายของเราออกมาได้ ซึ่งเห็ด 3 อย่างนี้เราก็สามารถเลือกรับประทานกันได้ตามชอบใจ ขอเพียงให้ได้เป็นเห็ด 3 ชนิดมาประกอบอาหารด้วยกันเท่านั้น รายชื่อเห็ดที่สามารถนำมารับประทานได้

เห็ดนางฟ้า หรือ เห็ดนางฟ้าภูฏาน หรือ เห็ดนางรมภูฏานเห็ดนางรมดอยเห็ดนางรมทองเห็ดนางรมหลวง หรือ เห็ดเอริงงิเห็ดนางรมฮังการีเห็ดหูหนูเห็ดฟางเห็ดหลินจือเห็ดโคนเห็ดโคนน้อย หรือ เห็ดถั่วเห็ดโคนหลวง หรือ เห็ดชิเมะจิน้ำตาลเห็ดชิเมะจิขาวเห็ดโคนญี่ปุ่น หรือ เห็ดยะนะงิเห็ดด่านเห็ดระโงกเห็ดทรัฟเฟิลขาวเห็ดเข็มเงินเห็ดเข็มทองเห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแกเห็ดหอม หรือ เห็ดชีตะเกะเห็ดขอนเห็ดขอนขาวเห็ดขอนดำเห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองเห็ดเผาะเห็ดเป๋าฮื้อเห็ดปุยฝ้าย หรือ เห็ดหัวลิงเห็ดลม หรือ เห็ดกระด้าง หรือ เห็ดบดเห็ดจาวมะพร้าวเห็ดตับเต่าเห็ดตะไคลเห็ดตีนแรดเห็ดกระถินพิมายเห็ดขิงเห็ดบดเห็ดไมตาเกะเห็ดมันปูใหญ่

จะเห็นได้ว่าเห็ดนั้นจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง แถมยังมีรสชาติที่อร่อย นุ่ม ลื่นลิ้น และยังเป็นอาหารที่หารับประทานกันได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป หรือซูเปอร์มาร์เก็ดต่างๆ แต่ทั้งนี้ การรับประทานเห็ดก็ควรจะรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะหากรับประทานมากเกินไปจากที่จะได้ประโยชน์อาจกลายเป็นโทษแทนได้

โรคมะเร็ง

มะเร็ง โรคมะเร็งคืออะไร สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาโรคมะเร็ง

หมวดหมู่ : สุขภาพเรื่องน่ารู้ Tags: มะเร็ง

ในปัจจุบันแม้ว่าหลายๆ คนจะเริ่มหันมาใส่ใจในสุขภาพร่างกายของตัวเองกันมากขึ้น แต่บรรดาเชื้อโรคต่างๆ ก็พัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตที่ผู้คนเป็นกันเยอะมากๆ ยิ่งกว่าโรคติดต่อเสียอีก เรียกได้ว่าเป็นฆาตกรเลือดเย็นที่ฆ่าผู้คนและคร่าชีวิตมนุษย์จากทั่วโลกทุกวันกว่า 200 ชนิดเลยทีเดียว
มะเร็งคืออะไร
มะเร็ง (Cancer) คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกายของเรามีการแบ่งตัวและเจริญขึ้นโดยรวดเร็วอย่างผิดปกติในสารพันธุกรรม (DNA) โดยเริ่มจากเป็นเซลล์เล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นตามเวลา นานวันเข้าเซลล์นั้นก็จะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ในก้อนเนื้อนั้นตาย จนกลายเป็นก้อนเนื้องอกร้ายที่ไปเบียดบังทั้งส่วนที่เกิดและส่วนอื่นๆ ที่อยู่ข้างเคียง จากนั้นก็จะค่อยๆ กระจายไปในส่วนอื่นๆ ของร่างกายโดยผ่านระบบกระแสเลือดหรือน้ำเหลืองของเราเป็นตัวนำเชื้อไป

อวัยวะต่างๆที่มักพบมะเร็ง

มะเร็งเต้านม มะเร็งที่พบได้มากที่สุดชนิดหนึ่งในผู้หญิง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผู้คนต่างป่วยด้วยโรคมะเร็งกันมากขึ้นนั้นเกิดได้จากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน คือ
1. ปัจจัยภายนอก
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มักเกิดในคนที่ไม่นิยมกินร้อนช้อนกลาง โดยอาจติดจากทางน้ำลายในการรับประทานอาหารร่วมกัน
- การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ในกรณีที่ชอบรับประทานอาหารแบบดิบๆ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
- ผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นชีวิตจิตใจ และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้ได้รับรังสีอัลตราไวโลเลตจากแสงแดดเป็นเวลานาน
- ผู้ที่เคยผ่านการฉายรังสีเอกซเรย์
- สารอะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มที่เรารับประทานกันทุกวัน โดยเฉพาะในพวกพริกแห้ง ถั่ว ฯลฯ
- สารก่อมะเร็งในอาหารจำพวกปิ้ง ย่าง ทอด โดยเฉพาะเนื้อที่ย่างหรือปิ้งจนไหม้เกรียม หรือเนื้อที่ทอดโดยใช้น้ำมันซ้ำๆ ทุกวัน
- สารไฮโดรคาร์บอน เป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในการถนอมอาหารอย่างไนโตรซามิน ซึ่งเป็นสีย้อมผ้าที่นำมาใช้เป็นสีผสมอาหาร

2. ปัจจัยภายใน
- เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย เช่น เด็กพิการแต่กำเนิด ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น พวกวิตามินเอ หรือซี ฯลฯ

ซึ่งจะเห็นได้ว่ามะเร็งส่วนใหญ่นั้นเกิดจากปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายใน นั่นหมายความว่าเราสามารถป้องกันการก่อเกิดโรคมะเร็งได้มากพอสมควร ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและระเบียบวินัยการเลือกปฏิบัติของเราเป็นหลัก รวมทั้งความรู้ในเรื่องของสารก่อมะเร็งด้วย

เซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อาการของโรคมะเร็ง
- สำหรับในช่วงแรกของการเกิดโรคมะเร็งขึ้นในร่างกายนั้นเรียกได้ว่าแทบไม่มีอาการอะไรส่อเค้า หรือบอกให้ผู้ป่วยทราบได้เลยว่ากำลังเผชิญกับโรคมะเร็งนี้อยู่ ทำให้กว่าที่จะรู้ตัวก็สายเกินแก้
- เมื่อเป็นประสักระยะหนึ่งหรือหลายปี ผู้ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่มักจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว ผอมซูบ น้ำหนักลด ร่างกายเริ่มดูทรุดโทรมลง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่าเหมือนเดิม
- และเมื่ออยู่ในระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามมากขึ้นก็จะเริ่มปรากฏอาการอย่างชัดเจนในระยะนี้ จะรู้สึกเจ็บปวดและทรมานเป็นอย่างมากตามจุดต่างๆ ที่เกิดมะเร็งขึ้น ทั้งนี้จะมีอาการมากน้อยอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับโรคมะเร็งที่เป็นว่าเป็นมะเร็งชนิดใด ประเภทไหน และการกระจายของเซลล์มะเร็งภายในนั้นไปเบียดบังอวัยวะส่วนใดบ้าง ณ ขณะนั้น

มะเร็งตับ เป็นมะเร็งพบได้มากทั้งผู้ชายและผู้หญิง

สัญญาณเตือนที่ควรเริ่มสันนิษฐานว่าเป็นมะเร็ง
- มีเลือดออกผิดปกติทางทวารต่างๆ โดยเฉพาะในทวารหนัก หรือปากมดลูก
- เริ่มรู้สึกว่ากลืนอาหารลำบากมากขึ้น หรือรู้สึกเสียดแน่นท้องบ่อยๆ และนาน
- เมื่อปัสสาวะออกมาเป็นเลือด หรืออุจจาระออกมาเป็นก้อนสีดำ
- เสียงเริ่มแหบแห้ง และไอบ่อยมากขึ้นจนเรื้อรัง
- เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นในร่างกายแล้วไม่หายสักที
- เมื่อคลำเจอก้อนหรือตุ่มที่ขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- เมื่อไฝ หูด หรือปานในร่างกายตามส่วนต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลง เช่น ใหญ่ขึ้น หรือสีเปลี่ยน เป็นต้น

มะเร็งปอด พบมากในคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

วิธีรักษาโรคมะเร็ง
สำหรับการรักษาโรคมะเร็งนี้แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอาการของโรค มีการตรวจอย่างละเอียดว่าเซลล์มะเร็งร้ายกระจายไปอยู่ในบริเวณใดของร่างกายบ้าง เมื่อทราบแล้วก็จะรักษาไปตามอาการ โดยมะเร็งแต่ละชนิดการรักษาก็อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ทั้งนี้ก็มีวิธีที่แพทย์นิยมรักษากันอยู่ คือ

1. การผ่าตัด
หากผ่าตัดออกได้แพทย์จะทำการผ่าตัดก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อกำจัดก้อนเนื้อร้ายที่อยู่ในร่างกายเราออกไป แต่วิธีนี้ไม่ได้สามารถทำการรักษาได้กับมะเร็งทุกประเภท และหากทำการผ่าตัดแล้วก็ยังไม่แน่นอนว่าจะหายขาด 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ เพราะเซลล์มะเร็งอาจยังหลงเหลือหรือหลบซ่อนอยู่ในร่างกาย โดยอาจเป็นเซลล์มะเร็งที่กำลังเริ่มจะเกิดแต่ยังไม่โตให้เห็น ทำให้แพทย์ไม่สามารถรู้หรือสังเกตเห็น เมื่อปล่อยไปสักระยะก็จะกลับเข้าสู่วังวนเดิม คือเริ่มก่อตัวขยายใหญ่ขึ้น ก็ต้องมาผ่าตัดกันใหม่อีกรอบ แต่โดยมากกับวิธีการผ่าตัดนี้แพทย์มักแนะนำให้ทำคีโมหรือเคมีบำบัดร่วมด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะช่วยให้หายขาดจากโรคมะเร็งนี้ได้

2. การใช้รังสีรักษา
เป็นการฉายแสงไปยังเซลล์มะเร็งในร่างกาย เพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น สำหรับการฉายแสงนี้เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่ โดยอาศัยปัจจัยจากชนิดของมะเร็งที่เป็น รวมทั้งระยะเวลาที่เกิดมะเร็ง ตลอดจนสุขภาพของผู้ป่วยด้วยว่าแข็งแรงพอหรือไม่ ซึ่งหากผู้ป่วยพร้อมก็จะทำการฉายแสงประมาณ 2 – 10 นาที โดยต้องทำการฉายแสงสัปดาห์ละ 5 วัน รวมประมาณ 5 – 8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ แต่การรักษาด้วยรังสีรักษานี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้น ได้แก่ ผิวหนังจะแห้งๆ คันๆ แดง หรือคล้ำ รวมทั้งมีอาการเจ็บคอ ลิ้นไม่รู้รส ปากแห้ง และอ่อนเพลียมาก

3. เคมีบำบัด (คีโม) 
สำหรับวิธีนี้ถือเป็นการรักษาอย่างถูกจุด เรียกว่าถึงรากถึงโคน แก้ที่สาเหตุโดยตรงของปัญหา เพราะเป็นการให้ยาเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งทั้งหมดที่อยู่ภายในร่างกาย รวมทั้งที่กระจายเข้าไปตามต่อมน้ำเหลืองหรือกระแสเลือดด้วย โดยแพทย์จะนัดมาทำการตรวจร่างกายวัดความดันและทำการเจาะเลือด ซึ่งหากผลการตรวจร่างกายผ่าน แพทย์ก็จะให้ไปทำการให้คีโมซึ่งก็เหมือนกับการให้น้ำเกลือทั่วไป เพียงแต่ต้องนอนรอหลายชั่วโมงจนกว่าตัวยาจะหมด และในระหว่างการให้คีโมนี้ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งอาจรู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรืออาเจียน และผลข้างเคียงที่ตามมาหลังจากการให้คีโมประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ผมจะเริ่มร่วง รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เป็นแผลในปาก และปริมาณเม็ดเลือดลดลงทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ตลอดจนอาจรู้สึกหายใจลำบาก มีผื่นขึ้น ท้องผูกถ่ายไม่ออก หรือมีไข้ เป็นต้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็มีราคาค่อนข้างแพงเลยทีเดียว แถมยังต้องทำหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องทำทั้งหมดกี่ครั้งจึงจะหายเป็นปกติ

ผู้ป่วยบางรายที่ทำเคมีบำบัด อาจเกิดผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงได้